ตัวชี้วัดประสิทธภาพด้านโลจิสติกส์

ตัวชี้วัดประสิทธภาพด้านโลจิสติกส์

   
    สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ประกาศตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ของสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมพลาสติก โดยได้รับความร่วมมือจากสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ เป็นหัวหน้าทีมศึกษาสำรวจ     

     ตัวชี้วัดวัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ ที่ดำเนินการจัดทำมีจำนวน 9 กิจกรรม 

       1. การให้บริการแก่ลูกค้าและกิจกรรมสนับสนุน (Customer Service and
           Support)
       2. การจัดซื้อจัดหา (Purchasing and Procurement)
       3. การสื่อสารด้านโลจิสติกส์และกระบวนการสั่งซื้อ
                                                            (Logistics Communication and Order processing)
       4. การขนส่ง (Transportation)
       5. การเลือกสถานที่ตั้งของโรงงานและคลังสินค้า (Site Selection, Warehousing and Storage)
       6. การวางแผนหรือการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า (Demand Forecasting and Planning)
       7. การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory Management)
       8. การจัดการเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ และการบรรจุหีบห่อ (Materials Handling and Packaging)
       9. โลจิสติกส์ย้อนกลับ (Reverse Logistics)

    โดยวัดผลการดำเนินงานใน 3 มิติ ประกอบด้วย

       1. ด้านการบริหารต้นทุน (Cost Management) เป็นดัชนีที่แสดงถึงสัดส่วนต้นทุนของกิจกรรมโลจิสติกส์เปรียบเทียบ

           กับยอดขายประจำปีทั้งหมดของกิจการ
       2. ด้านเวลา (Lead Time) เป็นดัชนีที่ใช้ข้อมูลระยะเวลาของการเคลื่อนย้ายสินค้าและข้อมูลที่เกิดขึ้นในแต่ละกิจกรรม
           โลจิสติกส์
       3. ด้านความน่าเชื่อถือ (Reliability) เป็นดัชนีที่ใช้วัดความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับการส่งมอบสินค้าและการตอบสนองความ
           ต้องการของลูกค้า

    จากการสำรวจข้อมูลของผู้ประกอบการชั้นนำ (Best in Class) จำนวนทั้งสิ้น 200 ราย ในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ และอุตสาหกรรมพลาสติก เมื่อทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างอุตสาหกรรม ใน 3 มิติ มีผลดังนี้ 

    1. มิติด้านต้นทุน

            

    2. มิติด้านเวลา

             

    3. มิติด้านความน่าเชื่อถือ

             

 

ที่มา : สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม

 14884
ผู้เข้าชม

gps

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์