แผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบโลจิสติกส์

แผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบโลจิสติกส์

       
        
 
 
       เป้าหมายของการทำแผนยุทธศาสตร์พัฒนาองค์กร (Objective & Goal) เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในการตอบรับต่อสภาพอันท้าทายที่มาจากภายนอก  แผนยุทธศาสตร์พัฒนาโลจิสติกส์ไม่อาจอยู่ด้วยตัวเองตามลำพังหรือเป็นกระบวนการแบบโดดๆที่ไม่พึ่งกระบวนการใดมาเชื่อม แต่จะต้องมาจากความร่วมมือร่วมใจของพนักงานทุกระดับ ซึ่งขั้นตอนการวางแผนยุทธศาสตร์พัฒนาจะต้องกำหนดเป้าหมาย (Goal) ซึ่งจะเป็นทิศทางให้พนักงานทั้งองค์กรเข้าใจถึงเป้าหมายและเจตจำนงขององค์กรที่ต้องการที่จะพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่ออะไร, ทำไมต้องทำ, ไม่ทำแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับองค์กรและพนักงานโดยการกำหนดเป้าหมายจะต้องชัดเจนสื่อสารกับผู้ปฏิบัติหน้าที่ให้เข้าใจว่าทำไมถึงต้องสนับสนุนต่อเป้าหมายขององค์กร และควรจะสนับสนุนอย่างไร ซึ่งเป้าหมายควรจะกำหนดมาจากเงื่อนไขภายนอกซึ่งได้มีการจัดทำการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อนขององค์กร (SWOT Analysis) โดยอาจจะผ่านกระบวนการจัดทำระบบแข่งดีหรือ Benchmarking เมื่อกำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนแล้วก็ถึงขั้นตอนของการกำหนดแผนปฎิบัติการ (Mission Plan) คือ กิจกรรมซึ่งเป็นภารกิจของธุรกิจที่ต้องดำเนินการไปในทิศทางที่ได้กำหนดตามเป้าหมายขององค์กร (Goal) โดยเน้นระบบการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) และมีการจัดการในการจูงใจ (Motivative) พนักงานให้มีความต้องการที่จะทำให้ภารกิจนั้นบรรลุให้ได้ตามแผนและเป้าหมาย (Goal) ซึ่งแผนปฏิบัติการจะต้องประสานกับแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งจะเป็นการสร้างและเน้นการเปลี่ยนระบบ Logistics ให้กลายเป็น Just in Time Value ทั้งองค์กร และสนองตอบการสร้างและส่งมอบคุณค่า (Value) ให้กับลูกค้า ภารกิจที่ครอบคลุมองค์กร จะเป็นพลังขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดความต่อเนื่องในกิจกรรม

    

การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ (Strategic Plan) 
  • การเลือกเฟ้นกิจกรรมมาสร้างเป็นจุดแข็งให้องค์กรมีความเหนือกว่า (Strength) โดยนำการพัฒนาการจัดการโลจิสติกส์มาดำเนินในเชิงปฏิบัติอย่างเป็นระบบ  กำหนดเนื้อหาของแผนยุทธศาสตร์ต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย
  • การสร้างความแตกต่าง (Differentiate) และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างชัดเจน ควบคู่ไปกับดัชนีชี้วัด KPI เพื่อให้สามารถนำไปพัฒนาองค์กรไปสู่การสร้างคุณค่า (Value) ให้กับสินค้า-บริการได้ดีกว่าคู่แข่ง

    

ความสำคัญของการพัฒนาแผนที่ยุทธศาสตร์(Strategic Map)
        
       เป็นกรอบหรือแนวทางตอบสนองต่อทิศทางการพัฒนาขององค์กร ให้มีการสื่อสารที่ดีไปยังพนักงานในทุกระดับชั้นขององค์กร เพื่อนำไปปฏิบัติ และดำเนินการให้สำเร็จจะต้องผ่านกระบวนการภายใน ในการเสริมสร้างองค์ความรู้และเพิ่มทักษะของพนักงาน (Skill Building) โดยการเรียนรู้และการฝึกอบรม (Learning & Training) รวมถึงกระบวนการถ่ายทอดความรู้ระหว่างกันในองค์กร (Knowledge Transfer) และการมี Team Work การตั้งใจจริงของผู้บริหารระดับสูง จนถึง พนักงานระดับล่าง ซึ่งจะต้องเข้ามาอยู่ในห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain) เพื่อการร่วมกันจัดทำแผนในการแก้ไขและปรับปรุงการทำงาน ธำรงจุดแข็งลบจุดอ่อน ด้วยการนำระบบการจัดการ มาใช้ในองค์กร เพื่อให้ธุรกิจมีขีดความสามารถและมีความยั่งยืนตลอดไป แผนยุทธศาสตร์พัฒนาโลจิสติกส์ในองค์กรก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการ Value Added  (Goal of value added building) โดยจะประกอบด้วยปัจจัยแห่งความเป็นเลิศ

              ::  Real Perfect    มุ่งเน้นความสมบูรณ์แบบไม่มีที่ติเพื่อให้เกิดการสนองตอบที่ดีต่อลูกค้า (ECR) 
              ::  Non Defect      Systematic ขจัดความบกพร่องอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิด Best Practice Organization
              ::  Value Chain     สร้างโซ่แห่งคุณค่า เพื่อให้เกิด Customer Loyalty
              ::  Differentiate     สร้างความแตกต่างที่ลอกเลียนแบบได้ยาก เพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน  (Competitiveness)
              ::  Surplus Utility   ทำให้อรรถประโยชน์ส่วนเกิน เพื่อให้องค์กรเพิ่มขีดความสามารถอย่างยั่งยืน (Sustainable Business)

   

   
ที่มา : http://logisticscorner.com/index.php?option=com_content&view=article&id=49:2009-05-25-00-35-40&catid=40:logistics&Itemid=87

 2086
ผู้เข้าชม

gps

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์