การประยุกต์ RFID ร่วมกับ GPS

การประยุกต์ RFID ร่วมกับ GPS

              
         การนำ RFID ไปใช้งานร่วมกันกับระบบ GPS เป็นตัวอย่างจากบริษัทผู้ผลิตสินค้าเกษตรรายใหญ่รายหนึ่ง ที่ได้ใช้เทคโนโลยี RFID ร่วมกับเทคโนโลยี GPS เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการติดตามผลิตภัณฑ์ ซึ่งช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับลูกค้า ในปี 2002 ได้มีการออกกฎเพื่อความปลอดภัย ในสุขภาพและการเตรียมพร้อมรับมือกับการก่อการร้ายโดยอาวุธเคมี โดยระบุว่าบริษัทที่ผลิต และ กระจายผลิตภัณฑ์อาหารนั้นต้องระบุแหล่งผลิต และข้อมูลการผลิตของสินค้าด้วย เพื่อความปลอดภัยของอาหาร
  
            
         บริษัทอาหาร Dole ซึ่งเป็นผู้ผลิตผักและผลไม้รายใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีผลิตภัณฑ์มากกว่า 200 รายการ และส่งสินค้าไปยัง 90 ประเทศทั่วโลก โดยมีบริษัทลูกคือ Dole Fresh Vegetables ซึ่งกำลังแก้ไขปัญหาในการหาวิธีการ หรือระบบติดตามผลิตภัณฑ์อาหารของตนอย่างแม่นยำและน่าเชื่อถือ เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกเรียกคืนสินค้ากลับเนื่องจากมีปัญหาการปนเปื้อน เพื่อแก้ไขปัญหานี้ บริษัทได้ใช้เทคโนโลยี RFID เพื่อติดตามสินค้าจากแหล่งผลิตไปยังปลายทาง
            
        ในขณะที่บริษัทอื่นใช้ RFID เพื่อการตรวจตราสินค้าเพียงแค่เพื่อให้รู้ว่าสินค้ายังอยู่หรือไม่ แต่บริษัท Dole มีจุดประสงค์อื่นคือ เพื่อความปลอดภัยของลูกค้า โดยโครงการนี้ถูกออกแบบภายใต้แนวคิดที่ว่าบริษัทฯ ต้องการรักษาความปลอดภัยให้กับลูกค้าให้ดีที่สุดเท่าที่สามารถทำได้  เมื่อกฎว่าด้วยการป้องกันการก่อการร้ายด้วยอาวุธเคมีฯ ถูกใช้ในปี 2002 นั้นทำให้การติดตามสินค้าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญมากขึ้น ในช่วงปี 2004 บริษัทฯ ได้ตั้งทีมเพื่อเริ่มศึกษาหาวิธีที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการติดตามสินค้าให้ดีขึ้นในทางปฏิบัติ โดยหัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่า "ระบบการติดตามสินค้าไม่ใช่แนวคิดใหม่สำหรับเรา เรามีระบบการติดตามวัตถุดิบมานานแล้ว แต่เราเริ่มคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะเพิ่มความสามารถของระบบดังกล่าวและเก็บข้อมูลให้ได้รายละเอียดมากขึ้น"เพื่อจุดประสงค์ดังกล่าว บริษัทฯ ใช้เทคโนโลยีบาร์โค้ดร่วมกับการจดบันทึกด้วยมือ และการประทับตราบนหีบห่อของสินค้า ซึ่งทำให้บริษัทฯสามารถติดตามสินค้าได้โดยรู้ข้อมูลของวันที่การผลิต โรงงานที่ผลิต และประเภทของสินค้า แต่ตอนนี้ทีมวิจัยกำลังหาทางที่จะเก็บข้อมูลรายละเอียดของสินค้าให้ได้มากขึ้นเช่น ที่อยู่ที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้นของแหล่งผลิตซึ่งจะช่วยให้รู้ถึงสภาพแวดล้อมในขณะที่สินค้าถูกผลิตหรือเจริญเติบโตและเก็บเกี่ยว ข้อมูลที่ละเอียดขึ้นนี้จะช่วยให้บริษัทฯ สามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาได้ในกรณีที่ลูกค้าพบปัญหาเกี่ยวกับสินค้า และเพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหาได้โดยเร็ว เมื่อบริษัทฯ ได้ตัดสินในที่จะใช้เทคโนโลยี RFID แล้วจำเป็นต้องพิจารณาต่อว่าส่วนไหนของธุรกิจของบริษัทที่มีแนวโน้มว่าจะได้รับผลประโยชน์สูงสุดหรือทำกำไรได้สูงสุดจากการใช้ RFID ทีมวิจัยได้แบ่งระยะเวลาของระบบออกเป็น 4 ระยะคือ
  
   
    1. การติดตามวัตถุดิบจากจุดที่ทำการเก็บเกี่ยวไปจนถึงห้องเย็น
    2. การติดตามวัตถุดิบจากห้องเก็บวัตถุดิบไปยังโรงงานผลิต
    3. การติดตามวัตถุดิบจากทางเข้าโรงงานไปจนถึงสายการผลิต
    4. การติดตามสถานะของการเคลื่อนที่ของวัตถุดิบในขณะที่อยู่ในกระบวน
การผลิต การบรรจุหีบห่อ ไปจนถึงการส่งไปยังโกดังเก็บสินค้าเพื่อรอการส่งต่อไป
     
     
ระบบต้นแบบถูกทดสอบการทำงานประมาณหกเดือนก่อนจะใช้งานจริง เมื่อระบบการติดตามสำหรับระยะแรกพร้อมใช้งาน Dole จำเป็นต้องอบรมพนักงานสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่ทำงานเก็บเกี่ยวผลผลิตและส่งมายังห้องเย็น และกลุ่มที่ปฏิบัติงานในห้องเย็นซึ่งคอยรับผลผลิตและส่งต่อไปยังสายการผลิต

     
      ในส่วนการเก็บเกี่ยวผลผลิตนั้นจะใช้ตัวอ่านรุ่นที่รองรับระบบ GPS เพื่อบันทึกพิกัดที่ได้ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย โดยจะบันทึกข้อมูลพิกัดนี้, ประเภทผลผลิต, วันที่และเวลา และผู้เก็บเกี่ยวลงใน Tags โดย Tags จะถูกติดเข้ากับลังของผลผลิต ทำให้สามารถตรวจสอบเวลาที่ใช้ไปตั้งแต่เริ่มการเก็บเกี่ยวจนถึงการนำผลผลิตเข้าสู่ห้องเย็น โดยก่อนหน้าที่จะใช้ระบบนี้ บริษัทฯ รู้เพียงแค่ว่าผลผลิตถูกเก็บเกี่ยวจากแปลงไหนซึ่งก็เป็นแค่พื้นที่กว้างๆ ประมาณ 15 ถึง 25 เอเคอร์ แต่ด้วยการนำระบบ GPS เข้ามาใช้ด้วย ทำให้สามารถระบุได้แคบลงไปอีกโดยมีรัศมีประมาณ 100 ฟุต

  
    
ที่มา : www.RFIDJournal.com

 4483
ผู้เข้าชม

gps

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์