โลจิสติกส์กับการแก้ปัญหาวิกฤตน้ำมัน

โลจิสติกส์กับการแก้ปัญหาวิกฤตน้ำมัน

 

โลจิสติกส์แก้ปัญหาวิกฤตน้ำมันได้อย่างไร ?
    
        ปัจจุบันการขนส่งมีความสำคัญต่อธุรกิจเกือบทุกประเภททั้งในส่วนการจัดหาวัตถุดิบ การผลิตการขาย และการจัดจำหน่าย ในหลายๆ ธุรกิจ ต้นทุนการขนส่งนับเป็นต้นทุนที่สำคัญและกระทบต่อต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์และบริการ ซึ่งต้นทุนของผู้ประกอบการขนส่งจะมากหรือน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดราคาค่าขนส่ง ได้แก่

      1. ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการขนส่งเที่ยวเปล่า (Back Haul)
      2. ปริมาณหรือน้ำหนักของสินค้าที่บรรทุก  (Full Truck Load)
      3. ระยะเวลาที่ใช้ในการขนถ่ายขึ้นและลง รวมถึงค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวกับระยะเวลาในการรอรับ (Time Loading)
      4. ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับระยะทางในการขนส่ง (Distance service)
      5. ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อความเสียหาย จึงจำเป็นต้องมีการบวกค่าใช้จ่าย ในส่วนที่เป็นเรื่องของการ
          ประกันภัย  (Liability costs)
    
       จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน การปรับตัวที่เพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้นุทนค่าน้ำมันเชื้อเพลิงมีสัดส่วนมากถึง 50% ของต้นทุนการขนส่งทั้งหมด เมื่อราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นทำให้ผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ ต้องแบกรับภาระด้านต้นทุนในด้านการขนส่งสินค้าที่สูงขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์จะต้องมีการวางแผนกำหนดกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง และลดต้นทุนในการขนส่ง อาทิเช่น

   
       >> กลยุทธ์การใช้พลังงานทางเลือก
  
       >> กลยุทธ์การขนส่งสินค้าทั้งเที่ยวไปและกลับ
 
       >> กลยุทธ์ศูนย์กระจายสินค้า
 
       >> กลยุทธ์การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยใน การลด  
            ต้นทุนโลจิสติกส์

  
      หากผู้ประกอบการสามารถนำระบบการบริหารการจัดการขนส่งที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในกิจกรรมการขนส่งขององค์กร จะทำให้องค์กรของผู้ประกอบการสามารถบรรลุองค์ประกอบของการส่งมอบแบบ        

    

5Rs Delivery ดังนี้
     1. Right Place : ส่งมอบตรงสถานที่
     2. Right Time : ตรงเวลาที่ลูกค้าต้องการ
     3. Right Quantity : ตรงตามปริมาณที่ลูกค้าต้องการ
     4. Right Quality : สินค้าตรงตามคุณภาพที่ตกลง
     5. Right Cost : การส่งสินค้าตามราคาที่แข่งขัน

   

       ถ้าองค์กรของคุณสามารถบรรลุการส่งมอบแบบ 5Rs Delivery จะทำให้เกิด JIT: Just in Time คือ “การส่งมอบแบบทันเวลา ถูกต้อง ถูกสถานที่ ตรงตามความต้องการภายใต้ต้นทุนที่แข่งขัน” เพื่อให้องค์กรมีการพัฒนาประสิทธิภาพการขนส่งอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ผู้บริหารต้องตรวจติดตามโดยตลอดคือ ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในการจัดส่งสินค้าและบริการ
 

 

 

ที่มา : http://www.thaicostreduction.com

 1995
ผู้เข้าชม

gps

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์