ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ กุญแจแห่งความสำเร็จของการลดต้นทุนโลจิสติกส์

ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ กุญแจแห่งความสำเร็จของการลดต้นทุนโลจิสติกส์

                

       กุญแจแห่งความสำเร็จ การนำระบบการจัดการโลจิสติกส์มาใช้ในการลดต้นทุนของภาคการผลิตให้เป็นรูปธรรมขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้บริหารในการที่จะนำยุทธศาสตร์การจัดการผู้ให้บริการโลจิสติกส์ด้วยการมีวิธีคัดสรรเลือกผู้ให้บริการกับลักษณะของงานที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถสนองตอบต่อสภาวะการแข่งขันแนวความคิดในการบริหารจัดการผู้ให้บริการภายนอกในฐานเป็นโซ่แห่งคุณค่า จะเกิดขึ้นต่อเมื่อเลือกใช้ผู้ให้บริการซึ่งสามารถให้บริการภายใต้ต้นทุนที่ถูกกว่าและมีขีดความสามารถในการสนองตอบในฐานะเป็นโซ่อุปทาน(Supply Chain Solution)  การที่จะไปถึงขั้นนั้นได้จึงต้องเป็นการพัฒนาทักษะและการจัดการผู้ให้บริการภายนอกโดยนำจุดแข็งของผู้ให้บริการทั้งการประหยัดจากเครือข่ายที่เรียกว่า Economies of scope และการประหยัดจากขนาด Economies of scale ทั้งนี้ การใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกจะสามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ได้ถึงร้อยละ 15 เหตุผลสำคัญก็เกิดจากการกระจายต้นทุน (Cost Sharing) ด้วยการลดสัดส่วนของสินค้าคงคลังและต้นทุนการบริหารสินค้าคงเหลือ (Inventory Caring Cost) รวมถึง การลดขนส่ง    เที่ยวเปล่า (Back Haul) ซึ่งการใช้ผู้ให้บริการภายนอกในงานโลจิสติกส์หรือ “3PLs” ที่มีศักยภาพก็สามารถนำค่าใช้จ่ายมาเฉลี่ยส่งผลต่อการลดต้นทุนรวมขององค์กรจำเป็นที่ผู้ประกอบการที่ต้องการประสบความสำเร็จในการลดต้นทุนด้าน  โลจิสติกส์ จะต้องปรับกระบวนการไปสู่การทำให้บริการภายนอกเข้ามามีส่วนในการบริหารจัดการภายในโซ่อุปทานเพื่อก่อให้เกิดการขยายปริมาณการให้บริการ และเป็นการเพิ่มความสามารถในการให้บริการ
โลจิสติกส์ในพื้นที่ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการได้เองอย่างมีประสิทธิภาพ

         
           ทั้งนี้ ภายใต้แนวโน้มของการปรับเปลี่ยนวิธีการส่งมอบสินค้าทั้งการส่งออกและการจัดจำหน่ายในประเทศ ซึ่งสภาวะเศรษฐกิจของโลกกำลังเข้าสู่ยุคถดถอยทำให้ตลาดมีการแข่งขันอย่างรุนแรงทั้งด้านราคาและเงื่อนไข การส่งมอบสินค้าซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นแบบ Door to Door คือการส่งมอบจากผู้ผลิตหรือผู้ส่งออกจนสินค้าถึงผู้บริโภคคนสุดท้ายโดยหลีกเลี่ยงการส่งมอบที่ท่าเรือปลายทาง (Destination Port) หรือการส่งมอบที่คลังสินค้าของผู้ซื้อแต่ต้องการให้ผู้ขายส่งมอบจนถึงผู้ใช้หรือห้างสรรพสินค้าโดยตรง ซึ่งจะทำให้ผู้ซื้อลดค่าใช้จ่ายในด้านขนส่งและจัดเก็บสินค้า จำเป็นที่ผู้ขายสินค้าจะต้องมีการใช้เครือข่ายของผู้ให้บริการโลจิติกส์แบบครบวงจรและหรือ3PLs หรือ Third Party Logistics Services  ซึ่งทางวิชาการ นิยามว่าจะต้องมีทรัพย์สิน , อุปกรณ์ หรือ Hard Ware Logistics เป็นของตนเอง ซึ่งในทางปฏิบัติไม่มีผู้ประกอบการใดที่จะใช้ผู้ให้บริการรายใดรายหนึ่งในการรับงานไปทั้งหมดแต่จะมีการผสมผสานการใช้งานมากกว่า 1 ประเภท เพราะโดยข้อเท็จจริงไม่มีผู้  3PLs  รายใดที่จะเป็นเจ้าของทรัพย์สินประเภท Logistics Equipment ได้ทั้งหมดในทางปฏิบัติจึงเป็นการผสมผสานประเภทที่เรียกว่า Integrated Logistics Service Provider
ซึ่งผู้ให้บริการเองก็จะมีการใช้ผู้ให้บริการประเภทอื่นๆ มาให้บริการรับช่วงงาน ที่เรียกว่า Subcontractor ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่เรียกว่าพระราชบัญญัติขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport Law) โดยผู้ให้บริการ
ช่วงแรกไม่ว่าจะมอบหมายเช่าช่วงกี่ทอดก็ตามก็ต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว ซึ่งเป็นการคุ้มครองให้กับผู้ใช้บริการ
  

  

  
 
ที่มา: http://www.logisticscorner.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1182:2009-09-28-01-25-56&catid=40:logistics&Itemid=87

 1974
ผู้เข้าชม

gps

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์