Logistics Management

Logistics Management

39 รายการ
ช่วง 3-4 ปี ที่ผ่านมา หลังจากมีการจุดประกายด้านโลจิสติกส์ขึ้นมา แต่การพัฒนาในด้านโลจิสติกส์ของไทยยังมีการพัฒนาไปได้ไม่มากนัก เพราะในขั้นแรกนั้นการพัฒนาจะมุ่งเน้นที่การพัฒนาด้านกายภาพทางเดียว โดยไปเน้นพัฒนาโครงข่ายด้านถนนเป็นหลัก ซึ่งจำเป็นต้องใช้ต้นทุนสูง แต่จริงๆแล้วสิ่งที่จำเป็นยิ่งกว่าคือการเชื่อมรูปแบบการขนส่งแต่ละอย่างเข้าด้วยกัน แม้ที่ผ่านมาทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนจะพยายามผลักดันให้มีการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากการใช้รถยนต์มาใช้รถไฟแทน หรือการขนส่งทางน้ำเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าจะลดต้นทุนด้านการขนส่งลงไปได้ แต่ในทางปฏิบัติจริงๆแล้วยังไม่สามารถทำได้ เนื่องจากว่าทำให้เกิดความซับซ้อนที่ต้องใช้ในการขนส่งสินค้า และทำให้เกิดต้นทุนในการจัดการในแต่ละประเภทการขนส่งที่สูงขึ้น
ปัจจุบันธุรกิจที่เกี่ยวกับการขนส่งโดยอาศัยการจัดการในเรื่องของโลจิสติกส์(Logistics Management) ได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ประกอบการ เนื่องจากในอุตสาหกรรมใดๆก็ต่างต้องการกระบวนการในการขนส่งสินค้า และการบริหารการใช้รถขนส่งให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ในการกระจายสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้าของธุรกิจนั้นๆ
การจัดการที่มีประสิทธิภาพเป็นกุญแจที่สำคัญสู่ความสำเร็จในงานด้านธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจเกี่ยวกับการจัดการสินค้าที่ต้องมีระบบการขนส่งเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดการด้านโลจิสติกส์(Logistics Management) การจัดการในส่วนนี้อาจจะยังไม่เห็นผลมากนักหากเป็นธุรกิจที่สเกลยังไม่ใหญ่มากนัก แต่ถ้าต้องการขยายสเกลของธุรกิจให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ก็จำเป็นต้องมีแผนรองรับในการใช้รถ พนักงาน และการจัดการโลจิสติกส์ที่ดีขึ้น มีกระบวนการการวางแผนและการจัดการที่ดีขึ้น และวันนี้เราจะมาพูดถึงทริคพิเศษ ที่จะทำให้การจัดการในระบบโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จากการวิเคราะห์ต้นทุนรายกิจกรรมที่เกิดขึ้นขององค์กรในการนำทฤษฎีต้นทุนฐานกิจกรรมมาใช้ โครงการวิจัยนี้ยังจะนำมาต่อยอดและนำผลลัพธ์ที่ได้ มาหาแนวทางลดต้นทุนจากกิจกรรมโลจิสติกส์ที่เกิดขึ้น โดยนำวิธีการจัดเส้นทางการหยิบสินค้า(Routing Order Picker) มาประยุกต์ใช้ในการหาวิธีที่จะหยิบสินค้าให้ลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุดในต้นทุนที่เหมาะสมที่สุด
จากการเติบโตของธุรกิจกลุ่มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เราคุ้นหูกันดีว่า ธุรกิจ E-Commerce ส่งผลให้มูลค่าของระบบโลจิสติกส์มีมูลค่าเพิ่มขึ้นไปด้วย แต่การจัดการด้านโลจิสติกส์อาจจะไม่สามารถจัดการให้เป็นไปตามแนวทางที่ควรจะเป็นอีกต่อไปเมื่อถึงวันที่การเติบโตนั้นไปสูงมาก มากจนอาจจะไม่สามารถหาทางไปต่อได้อีกแล้ว ถึงแม้จะไม่ใช่ในตอนนี้ และบางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องมีความพร้อม ความต้องการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งคำตอบที่จะตอบคำถามนี้ เราจะต้องให้ความสำคัญกับแนวโน้มของระบบโลจิสติกส์ที่จะเกิดขึ้นในภายในปีนี้ ส่วนหนึ่งของผลกระทบที่เกิดขึ้นเกิดจากการเติบโตของธุรกิจลูกค้าที่ใช้ระบบการขนส่ง
ข้อแตกต่างที่ค่อนข้างชัดเจน ระบบขนส่งจะเป็นเหมือนตัวขับเคลื่อนของระบบโลจิสติกส์ แต่ระบบโลจิสติกส์นั้นเปรียบเสมือนคนขับรถแข่งที่มีทักษะในการควบคุมและใช้ประสิทธิภาพรถได้อย่างเต็มที่ โดยที่รถแข่งนั้นคือระบบขนส่งนั่นเอง การเปรียบเทียบนี้จะชี้ให้เห็นว่า ระบบโลจิสติกส์จะต้องการการวางแผนเพื่อไปรีดประสิทธิภาพให้กับการขนส่งอีกที แต่ระบบขนส่งนั้นเป็นแค่ตัวส่งสินค้าหรือบริการจากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้มีระบบวางแผน

gps

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์