Logistics ในประเทศไทย การแข่งขัน และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

Logistics ในประเทศไทย การแข่งขัน และธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

            ธุรกิจที่ให้บริการเกี่ยวกับด้านโลจิสติกส์นั้น มีการแข่งกันมากขึ้นเรื่อยๆในช่วง 2-3 ปี มานี้ เนื่องด้วยผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์นั้นมีการเข้าแข่งขันในตลาดมากขึ้นหลายเจ้า และเป็นคู่แข่งที่อาจจะทำให้ไปรษณีย์ไทยต้องหวั่นได้เช่นกัน เช่น Kerry, Alpha, นิ่มซี่เส็ง, DHL, SCG Express ที่เริ่มเข้ามาแข่งกันอย่างเอาจริงเอาจัง

ภาพรวมของ Logistics จุดอ่อน จุดแข็ง และความต้องการ

            เป็นความจริงอยู่บ้างที่ว่าตลาดนี้มีโอกาสที่ผู้ประกอบการรายใหม่จะอยู่รอด ถ้าไม่มีการบริหารจัดการและความพร้อมที่มากจริง เพราะการแข่งขันนั้นดุเดือดมาก แต่การแข่งขันนั้นก็เป็นผลดีกับผู้บริโภค ดังนั้นหากจะมองส่วนประกอบของวงการนี้ เห็นจะมีอยู่ 3 ส่วน คือ เจ้าของแบรนด์ (รวมถึงผู้ให้บริการ e-Marketplace) ผู้ขาย ผู้บริโภค

โดยสำหรับเจ้าของแบรนด์ และผู้ให้บริการ e-Marketplace จะเน้นไปที่เรื่องของความน่าเชื่อถือ, ต้นทุนต่ำ เป็นหลัก ซึ่งถ้าไม่จำเป็นก็จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับเรื่องของโลจิสติกส์ เพราะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เจ้าของแบรนด์นั้นเป็นผู้ผลิตหรือคัดสรรสินค้าสำหรับขาย และ e-Marketplace นั้นคือสถานที่สำหรับขายสินค้าออนไลน์ ดังนั้นแล้วจึงเป็นเรื่องที่สะดวกกว่าสำหรับเจ้าของแบรนด์ที่จะใช้บริการโลจิสติกส์กับผู้ให้บริการโดยตรง

ทั้งผู้ขายสินค้ารายย่อยอื่นๆด้วย ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ต่างก็ต้องใช้บริการโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนและเวลาในการทำงาน สร้างความน่าเชื่อถือให้กับการส่งสินค้าถึงมือลูกค้า เพราะการที่ส่งสินค้าถึงมือลูกค้าเลยนั้น นอกจากเรื่องของความพึงพอใจของลูกค้าแล้วยังเป็นการประหยัดต้นทุนและเวลาลงได้อีกมาก

พัฒนา Logistics ตอบรับ e-Commerce

            อีกส่วนคือ ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ จะเลือกใช้บริการโลจิสติกส์ที่ค่าบริการถูกว่า บริการส่งสินค้าได้รวดเร็ว และจุดส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ หรือพูดง่ายๆคือมีบริการที่ดีและสร้างประสบการณ์ที่ดี ทั้งอีกส่วนที่น่าสนใจและเป็นตลาดไทยเท่านั้นคือ การซื้อขายออนไลน์แต่นัดรับของที่รถไฟฟ้า ทำให้เกิดบริการ skybox ขึ้น

ดังนั้นแล้วบริการโลจิสติกส์ยุคใหม่ได้พัฒนาขึ้นไปมาก เป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเต็มรูปแบบมากขึ้น ไม่ใช่แค่การรับส่งของ ไม่ใช่แค่การส่งของแล้วเก็บเงินอีกต่อไป โดยแนวสำหรับธุรกิจที่เป็น e-Commerce นั้นมีหลักที่ว่า “ถ้าทำให้ลูกค้ามีคำถามน้อยลง ก็จะมียอดการสั่งซื้อมากขึ้น” ซึ่งแนวคิดนี้มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการด้านโลจิสติกส์ด้วยเต็มๆ หากมีการพัฒนาระบบ e-Commerce อย่างดี มีระบบเว็บที่ดี มีระบบรับชำระเงินที่ดี ก็ต้องมีการประสานงานกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์เพื่อให้มีระบบการจัดส่งสินค้าที่ดีด้วย

ไปรษณีย์ไทยไม่ได้แย่ แค่คู่แข่งกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว

            หลายๆครั้งที่อาจมีเสียงบ่นเรื่องการให้บริการของไปรษณีย์ไทยออกมา ทั้งน่าจะเคยบ่นกับบริการที่ล่าช้า กล่องสินค้าบุบหรือเสียหาย แต่รู้หรือไม่ว่าไปรษณีย์ไทยนั้นสามารถให้บริการได้ครอบคลุมถึงพื้นที่ 95% ของประเทศไทย เขียนเลขที่บ้านผิดก็ยังส่งได้ รู้ที่ตั้งของจุดหมายปลายทางได้โดยไม่ต้องโทรถาม รวมถึงผู้ให้บริการโลจิสติกส์ทุกรายในประเทศ ก็ต้องใช้บริการไปรษณีย์ไทยเพื่อส่งสินค้าในพื้นที่ที่ตัวเองยังไม่สามารถให้บริการได้ครอบคลุม และยังมีบริการ LogisPost รับส่งของที่มีน้ำหนักมากกว่า 20 กิโลกรัม แต่ต้องไปรับของที่ที่ทำการไปรษณีย์เอง ซึ่งถือว่าเป็นบริการที่ดีและปลอดภัย

แล้วมาดูรายอื่นๆกันคร่าวๆว่ามีจุดเด่นยังไงบ้าง

Kerry ผู้ให้บริการจากฮ่องกง และเป็นเบอร์ 2 ของตลาดในไทย ณ ตอนนี้ (รองแค่เพียงไปรษณีย์ไทย) มีบริการที่ดี รวดเร็ว

Alpha –บริการน้องใหม่ในตอนนี้ ให้บริการในเขตกรุงเทพฯ คิดค่าบริการถูกที่สุด

นิ่มซี่เส็ง –เป็นผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์รายใหญ่ของภาคเหนือ ครอบคลุมทุกพื้นที่และมีการบริหารจัดการที่ดีมาก นำเทคโนโลยีมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ

DHL -จุดเด่นคือภาพลักษณ์ของแบรนด์ ที่เป็นแบรนด์ระดับโลก แต่ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นสำหรับตลาดประเทศไทย

SCG Express เปิดตัวอย่างเป็นทางการมาได้ไม่นานนัก มีบริการที่แตกต่าง เช่น ส่งสินค้าแช่แข็ง ใช้เครือข่ายจาก SCG โดยร่วมมือกับ Yamato บริการขนส่งจากญี่ปุ่น ซึ่งก็กำลังน่าจะตามองอีกราย

            สรุปแล้วเรื่อง e-Commerce ในไทยยังถือว่าเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับมูลค่าตลาดค้าปีก จากข้อมูลผู้ถือบัตรเครดิตในไทยยังมีอยู่ที่ราว 20 ล้านใบ เป็นแค่ 16% ของจำนวนประชากร (1 คนมีมากกว่า 1 ใบอีก) จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่การซื้อขายออนไลน์จะยังมีไม่มาก แม้จะมีช่องทาง e-payment เพิ่มมากขึ้น แต่ยังต้องใช้เวลาอีกระยะ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่ต้องเห็นสินค้าก่อนถึงจะยอมจ่ายเงิน แต่ก็จะมีโครงการเครื่อง EDC (เครื่องรูดบัตร) จากภาครัฐ ที่จะมีธนาคารแข่งกันให้บริการ เพื่อกระตุ้นให้มีการใช้บัตรเครดิตมากขึ้น และจะส่งผลต่อการเติบโตต่อธุรกิจ e-Commerce และ Logistics ของบ้านเราอีกด้วย

ข้อมูล: https://brandinside.asia/

 11829
ผู้เข้าชม

gps

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์