7 เทรนด์โลจิสติกส์ที่น่าจับตามอง

7 เทรนด์โลจิสติกส์ที่น่าจับตามอง

ภาพ: http://smepost.com/

                ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้เทคโนโลยีโลจิสติกส์เข้ามามีส่วนกับธุรกิจแทบทุกประเภท ทำให้การขนส่งสินค้าหรือบริการต่างๆเพื่อไปยังผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงไปมากเช่นกัน เพราะโลจิสติกส์เปรียบเสมือนหัวใจหลักของทุกกอุตสาหกรรม แน่นอนว่าต้องมีเรื่องที่น่าจับตามองกับโลจิสติกส์ที่กำลังพัฒนาไปเรื่อยๆ

1. Internet of Thing (IoT)

                Internet of Things (IoT) นั้นหมายถึง “อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” ซึ่งก็คือ เครือข่ายของสิ่งของที่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ซอฟต์แวร์ และเซ็นเซอร์ฝังตัวอยู่ ทำให้สามารถเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ ซึ่งจะได้เห็นเทคโนโลยีใหม่ๆ เกี่ยวกับการตรวจสอบการขนส่งด้วย RFID, GPS มากขึ้น ซึ่งการติดตามการขนส่งได้อย่างแม่นยำ จะทำให้ธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด สามารถจัดการสิ่งต่างๆ ได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งเรื่อง เส้นทางการขนส่ง การจัดการพนักงาน และการจัดเก็บสินค้าในโกดัง ช่วยให้การตัดสินใจแม่นยำขึ้นและประหยัดเวลาในการดำเนินการมากขึ้น

2. Blockchain

                Blockchain คือ เครือข่ายการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ซึ่งถูกจัดเก็บอยู่ใน (Block) และเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายคล้ายห่วงโซ่ (Chain) โดยทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ได้และมีความปลอดภัยสูง ทำให้เกิดความโปร่งใสในการจัดเก็บข้อมูลในการทำธุรกรรมต่างๆ เชื่อว่าปีนี้จะเข้ามามีบทบาทกับวงการโลจิสติกส์อย่างมากเลยทีเดียว เช่น การจัดเก็บรหัสลูกค้า ข้อมูลผู้จัดส่ง สินค้า วัสดุที่ใช้ และข้อมูลอื่นๆ ซึ่งเราสามารถระบุหมายเลข ID นี้ไปกับการขนส่งทุกครั้ง เพื่อที่จะสามารถติดตามและป้องกันไม่ให้เกิดการถูกหลอกลวง

3. Logistics ที่มีความยืดหยุ่น

                สิ่งนี้หมายถึงความยืดหยุ่นในการขยายหรือลดขีดความสามารถโลจิสติกส์ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการในห่วงโซ่อุปทานภายในระยะเวลาที่กำหนด เนื่องจากตลาดมีการผันผวนอยู่เสมอ ดังนั้นระบบอัตโนมัติจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการกำหนด การควบคุมค่าใช้จ่าย การจัดการคลังจัดเก็บสินค้า การจัดการช่องทางการจัดจำหน่าย การจัดลำดับความสำคัญของการจัดส่ง และอีกมากมาย เพราะการตอบสนองต่อความต้องการในอุตสาหกรรม Logistics และ Supply Chain ต้องดำเนินการแบบวันต่อวัน ดังนั้นบริษัทต่างๆ จึงต้องสร้างความยืดหยุ่นในการดำเนินการเพื่อวางแผนขีดความสามารถให้ตรงตามความต้องการ ซึ่งจะช่วยทำให้มี Customer Experience ที่ดีขึ้น สามารถมองเห็นภาพได้แบบ Real-time สามารถเชื่อมโยงกระบวนการทำธุรกิจทั้งหมด และเกิดความคล่องตัวมากขึ้น

4. ความสมบูรณ์แบบในการจัดส่งสินค้า

เทรนด์ที่น่าสนใจและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ คือ ความต้องการคำสั่งซื้อที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งบริษัททุกแห่งทราบดีว่านี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการวัดผลความพึงพอใจของลูกค้า คำสั่งซื้อที่สมบูรณ์แบบ คือ เปอร์เซ็นต์ในการจัดส่งสินค้าให้ทุกประเภทเท่านั้น แต่จะต้องจัดส่งสินค้าที่ถูกต้อง บรรจุหีบห่ออย่างถูกต้อง ไปยังสถานที่ที่ถูกต้อง ในเวลาที่ถูกต้อง ตามจำนวนที่ถูกต้อง พร้อมเอกสารที่ถูกต้อง ในสภาพสมบูรณ์ไม่เสียหาย และส่งไปยังลูกค้าที่ถูกต้องอีกด้วย

5. การใช้ Big Data มาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกในระบบ Cloud

ความกลัวในการจัดเก็บข้อมูลในระบบ Cloud นั้นจะไม่มีอีกต่อไป เมื่อบริษัทพากันแทนที่ระบบจัดการการดำเนินธุรกรรมในองค์กร (Legacy System) ด้วย Cloud Data หรือศูนย์ข้อมูลที่ทุกคนสามารถเข้าไปใช้งานได้ด้วยตนเองเนื่องจากความต้องการให้ห่วงโซ่อุปทานสามารถตอบสนองได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วมากขึ้น และเพื่อให้ทีมผู้บริหารสามารถเข้าใจถึงตัวผลักดันต้นทุน (Cost Drivers) ในกิจกรรมต่างๆ ของโลจิสติกส์ได้ ซึ่งการพัฒนาการวิเคราะห์ข้อมูลของบริการใน Supply Chain และ Logistics จะช่วยในการประกอบการตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น

6. เริ่มต้นใช้หุ่นยนต์ เพื่อบริหารจัดการคลังเก็บสินค้า

การนำเครื่องจักรมาใช้งานแทนมนุษย์ภายในคลังสินค้าไม่ใช่คอนเซ็ปต์ใหม่แต่อย่างใด เมื่อคุณจะต้องจัดการคลังสินค้าที่มีขนาดใหญ่ การจัดการให้งานทุกขั้นตอนดำเนินไปได้อย่างอัตโนมัติ โดยการวางระบบ IT ที่ดีจะช่วยให้การจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้นและง่ายขึ้น ในปัจจุบันมีบริษัทข้ามหลายแห่งที่ใช้หุ่นยนต์ในการจัดการคลังสินค้าควบคู่ไปกับการใช้รถยก ทั้งนี้การจะปรับเปลี่ยนทุกอย่างให้เป็นระบบอัตโนมัติโดยสมบูรณ์ทุกขั้นตอน จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อมีการพัฒนาเครื่องมือภายในคลังสินค้าที่สามารถระบุได้ว่าสินค้าตัวไหนคืออะไร และสามารถเลือกสินค้าที่ถูกต้องเพื่อจัดส่งไปยังผู้รับต่อไปได้

7. การจัดการรายได้จากทุกช่องทางการจำหน่าย (Omnichannel)

                Omnichannel คือ การรวบรวมการสื่อสารและเข้าถึงผู้บริโภคในช่องทางที่หลากหลายทั้งออนไลน์ (Website, email, LINE, Facebook, Instagram) และออฟไลน์ (ร้านค้า) เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าผ่านทุกช่องทางการขาย ซึ่งถึงเป็นการทำ CRM ยุคใหม่อีกอย่างหนึ่ง ตัวอย่าง เช่น แบรนด์เสื้อผ้าชื่อดัง Pomelo ที่ให้ลูกค้าสามารถสั่งสินค้าผ่านเว็บไซต์ เลือกจัดส่งสินค้าไปยังหน้าร้าน (Site-to-store) และสามารถไปรับด้วยตนเองได้ภายใน 1-2 วัน

                ห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจค้าปลีกกำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เมื่อ E-Commerce ยักษ์ใหญ่อย่าง Amazon มาแรงเหลือเกิน ธุรกิจมากมายยอมลงทุนมหาศาล เพื่อหวังจะแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด เพิ่มยอดขาย และสร้างความจงรักภักดีต่อแบรนด์ ทั้งนี้การเข้าถึงลูกค้าในทุกช่องทาง ทำให้ธุรกิจต้องตั้งรับกับการจัดการโลจิสติกส์ ซึ่งการขนส่งจะมีหลากหลายช่องทาง ทั้งส่งถึงมือลูกค้าโดยตรง หรือส่งไปยังร้านค้าสาขาที่ใกล้เคียง เป็นต้น แต่ปัญหาหลักคือธุรกิจส่วนมากไม่เข้าใจว่ากำไรของตนเองคือเท่าไร เมื่อมีการส่งสินค้าหลากหลายช่องทาง หรือไม่สามารถวัดผลกระทบของการคืนสินค้าในแต่ละช่องทางได้ ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุดคือคุณจะต้องทราบต้นทุนและกำไรที่แท้จริงของการจำหน่ายสินค้าในทุกช่องทางเสียก่อน

ข้อมูล: https://www.peerpower.co.th 

 7378
ผู้เข้าชม

gps

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์