10 คำศัพท์เฉพาะของ Logistics

10 คำศัพท์เฉพาะของ Logistics

ภาพ: https://www.stepone.gr/ 

                แม้แต่เรื่องของโลจิสติกส์นั้นก็มีคำศัพท์เฉพาะที่ควรจะรู้เหมือนกัน เพราะโลจิสติกส์นั้นเป็นเทรนด์ใหม่ของโลกยุคในปัจจุบันนี้ เป็นเสมือนกระแสใหม่ที่พึ่งมาเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในยุคนี้ ดังนั้นก็ไม่แปลกที่จะมีคำศัพท์เฉพาะเกี่ยวกับหัวข้อนี้ เราจะพาไปดูกันว่าคำศัพท์ที่อาจจะเฉพาะๆสำหรับหัวข้อนี้นั้นมีคำไหนกันบ้าง

โลจิสติกส์ (Logistics) ความหมายของเรื่องนี้หมายถึงการจัดการที่เชื่อมโยงไปตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ, สินค้า และบริการ ทั้งการเคลื่อนย้ายจากต้นทางไปยังปลายทางที่ทันเวลาและมีประสิทธิภาพ

ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เป็นการวางแผนการผลิตและกิจกรรมทางการตลาด โดยเฉพาะส่วนผสมทางการตลาดที่เป็นส่วนเกี่ยวข้องกับแนวคิดในการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ รวมไปถึงการจัดหาวัตถุดิบจากแหล่งฯ, กระบวนการในการผลิต และการกระจายสินค้าออกไปยังกลุ่มตลาดที่ต้องการด้วย

คลังสินค้า (Warehouse) เป็นสถานที่สำหรับจัดเก็บสินค้า อาจจะหมายถึงไปยังแหล่งพักสินค้าเพื่อรอการกระจายด้วย โดยคลังสินค้านี้อาจจะมีชื่อเรียกได้หลายแบบ เช่น ศูนย์กระจายสินค้า, ศูนย์กลางเพื่อจัดจำหน่าย หรือโกดังเก็บสินค้า

ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) เป็นศูนย์ที่ใช้ในการกระจายสินค้า จัดเตรียมประเภทสินค้าและกระจายไปในขั้นตอนต่อไปนี้ ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่

  • แยกสินค้าที่ต่างกันไว้ในประเภทประเภทเดียวกัน
  • นำสินค้าที่แยกไว้มารวมไว้ด้วยกัน
  • แบ่งสินค้าที่รวมไว้แล้วออกเป็นกลุ่มย่อย
  • สร้างความหลากหลายแก่สินค้าในกลุ่มย่อย เพื่อลำเลียงไปยังร้านค้าปลีก

จัสอินไทม์ (Just-In-Time : JIT) เป็นการจัดส่ง, ผลิต หรือการส่งมอบสินค้าได้ทันภายในเวลาที่ต้องการ ตามจำนวนที่ต้องการ โดยใช้ความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเป็นตัวกำหนดปริมาณการผลิตและการเลือกใช้วัตถุดิบ

มิลค์รัน (Milk Run) เป็นเทคโนโลยีที่มาใช้สนับสนุนระบบการผลิตแบบ Just-In-Time เพื่อลดต้นทุนของการขนส่งและลดปริมาณสินค้าคงคลัง โดยมิลค์รันช่วยในการจัดการรถบรรทุกในการวิ่งออกไปรับวัสดุจากซัพพลายเออร์แต่ละที่ตามที่ระบุไว้ และทำการนัดหมายช่วงเวลาในการรับวัสดุ จากนั้นเมื่อรับวัสดุที่ต้องการแล้ว รถที่ออกไปรับวัสดุก็จะเดินทางกลับมายังที่ตั้ง

ท่าในการเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Cross Dock) คือ คลังสินค้าที่ใช้สำหรับรับสินค้าและส่งสินค้าในเวลาเดียวกัน หรือเป็นคลังสินค้าที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อใช้ในการขนส่งสินค้าจากพาหนะหนึ่งไปยังอีกพาหนะ

การพยากรณ์สินค้า (Forecasting) คาดการณ์ความต้องการในตัวสินค้าหรือคาดการณ์ความต้องการทางการตลาดล่วงหน้า ช่วยให้บริษัทสามารถกำหนดทิศทางในการดำเนินงานว่าจะผลิตสินค้าเท่าใด หรือเพื่อจะได้เตรียมอุปกรณ์ วัสดุ หรือบุคลากรให้เพียงพอ

ลีดไทม์ (Lead Time) คือ ระยะเวลาตั้งแต่ออกใบสั่งซื้อวัตถุดิบ กระทั่งได้รับวัตถุดิบจากผู้ขาย โดยลด Lead Time ให้เหลือน้อยที่สุด และวัตถุดิบต้องมาถึงทันเวลาที่จะผลิตสินค้า

การขนส่งสินค้า (Transportation) เป็นการเคลื่อนย้ายคน สินค้า หรือบริการ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยประเภทของการขนส่งนั้นแบ่งย่อยออกได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ 1.ทางรถยนต์หรือรถบรรทุก 2.ทางรถไฟ 3.ทางน้ำ 4.ทางอากาศ 5.ทางท่อส่ง

ปรากฏการณ์แส้ม้า (Bullwhip Effect) คือ การที่ไม่รู้ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าปลายน้ำ หรือไม่รู้ข้อมูลอุปสงค์ที่แท้จริง ทำให้พยากรณ์ผิดพลาดหรือขาดการอัพเดทข้อมูล ความแปรปรวนของราคา การจัดการในส่วนของการส่งเสริมการขาย ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการกักตุนสินค้าเกิดขึ้น หรือการซื้อสินค้ามากเกินความต้องการใช้งานที่แท้จริง

ข้อมูล: https://www.logisticafe.com/

 13338
ผู้เข้าชม

gps

สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์